โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต |
รายวิชา
รายวิชา ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (30 หน่วยกิต) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (9 หน่วยกิต) หน่วยกิต(บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
กลุ่มวิชาบังคับ (15 หน่วยกิต)
กลุ่มวิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต วิชาแกน ( 21 หน่วยกิต) หน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือเลือกเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ หน่วยกิต(บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
|
โปรแกรมการศึกษา
โปรแกรมการศึกษา
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 2
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 2
ภาคฤดูร้อน
ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 2
ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 2
ชั้นปีที่ 2
ภาคฤดูร้อน
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 2
ภาคฤดูร้อน
ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 2
|
รายละเอียดวิชา
รายละเอียดวิชา ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (30 หน่วยกิต) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (9 หน่วยกิต)
เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่ฝึกฝนทักษะด้านการอ่านจับใจความการเขียนย่อความ การเขียนถ่ายทอดความคิดแบบอิสระและการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์พื้นฐานพร้อมทั้งการฝึกฝนทักษะด้านการฟังการพูด และการออกเสียงโดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา
พัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงฝึกฝนทักษะด้านการอ่านและเขียนแสดงความคิดเห็นโต้ตอบต่อ เรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลพร้อมทั้งฝึกฝนทักษะด้านการฟังการออกเสียงและการพูดโต้ตอบเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยใช้ โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา
ฝึกฝนทักษะด้านการอ่านและเขียนเรียงความสั้นเพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลต่อเรื่องที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบันเรียนรู้ หลักการและฝึกทักษะด้านการนำเสนอรวมทั้งทำกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดเพื่อติดต่อสื่อสารในสังคม โดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา กลุ่มวิชาบังคับ (15 หน่วยกิต)
ศึกษาวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมและบุคลิกภาพตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต การรู้จักตนเองความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม ท่ามกลางกระแส การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผสมผสานกับหลักการทาง คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมสมัยใหม่ ตลอดจนศึกษาผลกระทบของ เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการดำเนินชีวิต
ศึกษาภาษาไทยพลวัตในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและสังคม มุ่งเน้นทักษะการฟังและการดู การพูด การอ่าน การเขียน การตั้งคำถามที่พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ ตลอดจนประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิผล
ศึกษาความหมายและลักษณะที่ดีของการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะในการ อยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ความเชื่อภาษา และวัฒนธรรมการศึกษาจะเน้นเรื่องความเสมอภาคความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ในวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้มีความตระหนัก ในการเป็นสมาชิกสังคมที่มีจิตกุศล ตลอดจนมีจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม
ศึกษาวิธีการพัฒนาสุนทรียภาพแห่งชีวิต พัฒนาทัศนคติเชิงบวก และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและกลุ่มคน ศึกษาด้านศิลปะ ดนตรีวรรณกรรม การศึกษาประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา การศึกษาดูงาน และการฝึกปฏิบัติจริง กลุ่มวิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
ศึกษาความสำคัญของการมีภาวะผู้นำในแง่มุมขององค์ประกอบคุณลักษณะความสามารถกระบวนการคิดศักยภาพ ที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการเป็นผู้นำระดับต่างๆการตระหนักถึงอุดมคติแห่งการเป็นผู้นำที่ดี มีจิตสาธารณะ และสามารถจัดการ กับปัญหาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลรวมถึงการพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในทางสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในฐานะที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
ศึกษาพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ความหมายของตัวเลขและสัญลักษณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์กับศิลปะ และความงามคณิตศาสตร์สันทนาการ และการนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอาทิการคำนวณดัชนีมวลกาย การคิดค่าสาธารณูปโภค การคำนวณภาษีเงินได้ การวางแผนเงินออมและการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้จากสถาบันการเงิน ต่างๆ เป็นต้น
ความรู้ความเข้าใจเชิงบูรณาการเกี่ยวกับวงจรชีวิตพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองอาหารและยาการออกกำลังกาย การส่งเสริมสุขภาพจิตการประกันชีวิตและสุขภาพ การป้องกันตัวจากอุบัติภัย และโรคอุบัติใหม่ รวมทั้งเรื่องของสิทธิมนุษยชน
ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวกับมนุษย์กับมนุษย์มนุษย์กับธรรมชาติมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติและองค์ความรู้เกี่ยวกับ เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อปลุกจิตสำนึกความเป็นไทยและการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขตลอดจนสามารถนำความรู้ด้าน ภูมิปัญญาไทยมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการทางการตลาด เพื่อประโยชน์ของบุคคล กลุ่มชน และประเทศชาติ ข. หมวดวิชาเฉพาะ (104 หน่วยกิต) วิชาแกน (18 หน่วยกิต)
ศึกษาและปฏิบัติการวาดเส้น เพื่อให้เข้าใจแนวคิด หลักทฤษฎี และองค์ประกอบต่างๆของการวาดเส้น เช่น เส้น น้ำหนัก รูปทรง พื้นผิวชนิดต่างๆ ฯลฯ ฝึกการรับรู้และแสดงออกด้วยเทคนิควิธีการใช้เครื่องมือและวัสดุชนิดต่างๆ เรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้และ การการแสดงออก การสื่อสารด้วยภาษาภาพ ในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ที่กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ ใช้เป็นพื้นฐานของวิชาชีพต่อไป
ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบของตะวันตก ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใน ปลายยุคสมัยใหม่ โดยเน้นความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ความคิดหลักของยุคสมัย สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และรูปแบบของศิลปะและการออกแบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจศิลปะตะวันตก
พื้นความรู้ : สอบได้ ศก.101 วาดเส้น 1 ศึกษาและปฏิบัติการวาดเส้นที่ต่อเนื่องจากวิชา ศก.101 เรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ การสื่อสารความคิดสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการใช้เครื่องมือและวัสดุในลักษณะที่มีความซับซ้อนขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับ การนำไปประยุกษ์ใช้ในวิชาชีพการออกแบบนิเทศศิลป์
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบ เรียนรู้เรื่องการใช้สี พื้นผิว วัสดุ การสร้างรูปร่างรูปทรงใหม่ด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงฝึกปฏิบัติการทำงานออกแบบที่เป็นงาน 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงานออกแบบนิเทศศิลป์
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนแบบขั้นพื้นฐาน เช่น การเขียนรูปด้านทัศนียภาพ แสงเงา การเขียน Isometric ของรูปทรงแบบต่างๆ โดยเริ่มจากการเขียนแบบด้วยมือไปจนถึงการเขียนแบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน การทำงานออกแบบนิเทศศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติพื้นฐานการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบนิเทศศิลป์และการตกแต่งภาพ โดยศึกษาเรียนรู้เครื่องมือพื้นฐานเพื่อนำไปสร้างผลงานออกแบบ เข้าใจคุณลักษณะของไฟล์แต่ละชนิด รวมถึงการเตรียมไฟล์ สำหรับกระบวนการพิมพ์อย่างถูกต้อง วิชาเอก-บังคับ - วิชาเอก-บังคับ (71 หน่วยกิต แผนการเรียนแบบปกติ) - วิชาเอก-บังคับ (77หน่วยกิต แผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา)
ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานการออกแบบที่ใช้ในการสื่อสาร การสื่อความหมายด้วยภาษาภาพ การออกแบบสัญลักษณ์ภาพ (Pictogram) รวมถึงเรียนรู้การนำเสนอผลงานออกแบบที่สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.121 การออกแบบนิเทศศิลป์ 1 ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ สัญลักษณ์โดยคำนึงถึงการสื่อสาร รวมถึงกระบวนการ ในการออกแบบสัญลักษณ์ เช่น การหาข้อมูล การพัฒนาความคิด การออกแบบ การใช้กริด (Grid) เพื่อให้ได้สัญลักษณ์ที่สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้งานในสื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.222 การออกแบบนิเทศศิลป์ 2 ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) โดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมากำหนดภาพรวมของการใช้งานสัญลักษณ์และองค์ประกอบกราฟิกที่ครอบคลุมงาน ออกแบบในองค์กรทั้งหมดอย่าง เป็นระบบรวมถึงออกแบบคู่มืออัตลักษณ์องค์กร (CI Manual) ด้วย
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.223 การออกแบบนิเทศศิลป์ 3 ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic) โดยมีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาสร้างระบบในการออกแบบให้มีความสอดคล้องและมีลักษณะเฉพาะกับสภาพแวดล้อมนั้น
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.324 การออกแบบนิเทศศิลป์ 4 (ยกเว้นสำหรับแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา) ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบที่เน้นกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่เน้นรูปแบบของการวิจัย เชิงทดลอง โดยมีการศึกษาค้นคว้าและนำทฤษฎีหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ในงานออกแบบเชิงทดลองด้วย
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.325 การออกแบบนิเทศศิลป์ 5 (ยกเว้นสำหรับแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา) ศึกษาระบบการทำงาน การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้วยการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติจากภาควิชาฯ โดยใช้เวลาฝึกงานไม่ต่ำกว่า 8 สัปดาห์ หรือประมาณ 320 ชั่วโมง ข้อกำหนด 1. นักศึกษาที่จะฝึกงานต้องผ่านการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษา 2. นักศึกษาที่จะฝึกงานต้องสอบได้ อน.325 การออกแบบนิเทศศิลป์ 5 3. การวัดผลให้ถือเกณฑ์ S และ U เป็นเกณฑ์ผ่านและไม่ผ่านตามลำดับ
พื้นความรู้ : สอบได้ สศ. 301 เตรียมสหกิจศึกษา อน.324 การออกแบบนิเทศศิลป์ 4 และนักศึกษาต้องลงทะเบียนและสอบผ่าน ในกลุ่มวิชาเอก-บังคับแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต(สำหรับแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา) ศึกษาระบบการทำงานจริงในสถานประกอบการในฐานะพนักงานของสถานประกอบการเพื่อเสริมสร้างให้มีความพร้อมด้านงานอาชีพ จากการปฏิบัติงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพของนักศึกษาอย่างเป็นระบบ นักศึกษาจะต้องมีการปฏิบัติงานเต็มเวลาในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษาปกติ หรือ 16 สัปดาห์โดยมีการประเมินผลการทำงานจากคณาจารย์ร่วมกับสถานประกอบการและนักศึกษาจะต้องจัดทำ รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน
พื้นความรู้ : อน.325 การออกแบบนิเทศศิลป์ 5 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลหัวข้อโครงงานส่วนบุคคล ซึ่งเป็นโครงการที่นักศึกษาสนใจ จัดเตรียมข้อมูลสำหรับนำเสนอเพื่อ ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ รวมถึงนำข้อมูลที่ได้มาเขียน โครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ข้อกำหนด 1. การวัดผลวิชานี้ให้ถือเกณฑ์ S และ U เป็นเกณฑ์ผ่านและไม่ผ่านตามลำดับ 2. นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ต้องสอบได้ อน. 325 และผ่าน อน. 326 หรือ อน.327
พื้นความรู้ : อน.428 การเตรียมโครงการออกแบบ ดำเนินการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ที่นำเสนอไว้ในรายวิชา อน. 428 ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการของ ภาควิชาให้ดำเนินการได้ตามข้อกำหนดของการทำโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ ข้อกำหนด 1. นักศึกษาที่จะลงทะเบียนวิชานี้ต้องผ่านวิชาแกนและวิชาเอก-บังคับครบทุกวิชา และ วิชาโทไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 2. ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป 3. การวัดผลถือระดับคะแนนตั้งแต่ 2.00 (เกรด C) ขึ้นไปเป็นเกณฑ์ผ่าน 4. มีการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ
ศึกษาพัฒนาการและพื้นฐานการใช้ตัวพิมพ์ โดยเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ ลักษณะ บุคลิก ตระกูลของตัวพิมพ์ รวมถึงฝึกปฎิบัติการใช้ตัวพิมพ์ที่เน้นการอ่านออกและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Readability and Legibility)
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.131 ตัวพิมพ์เพื่อการออกแบบ 1 ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบจัดวางตัวพิมพ์ในแบบต่างๆ รวมถึงการเลือกตัวอักษรมาใช้ในงานออกแบบต่างๆ และเลือกตัวพิมพ์ มาใช้ในงานออกแบบนิเทศศิลป์ได้อย่างเหมาะสมกับเรื่องราวในสื่อต่างๆ และสื่อความหมาย
ศึกษาทฤษฎีและหลักการพื้นฐานด้านการถ่ายภาพ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภาพขาว-ดำและภาพสี รวมทั้งการกำหนดแนวความคิด และเนื้อหาในภาพถ่าย เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบนิเทศศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาทฤษฎีพื้นฐานในการสร้างภาพประกอบและฝึกปฏิบัติการออกแบบภาพประกอบที่ผ่านการตีความถ่ายทอด จินตนาการจากเรื่องสู่ภาพให้สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม และฝึกทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ
ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบและเรียงรางข้อมูลประเภทต่างๆผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูล ได้อย่างมรประสิทธิภาพโดยนำเสนอผ่านงานออกแบบด้วยภาพ สัญลักษณ์ และตัวอักษรที่ครอบคลุมตั้แต่สื่อสิ่งพิมพ์ไปจนถึง สื่ออิเล็คทรอนิกส์อย่างสร้างสรรค์
ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบสื่อที่เกี่ยวข้องกับมิติของเวลา ตั้งแต่ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ไปจนถึงสื่ออินเตอร์แอคทีฟ ด้วยเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่เหมาะสม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับ โดยเน้นการจัดวางภาพ ตัวอักษร องค์ประกอบที่สามารถสื่อสารกับเนื้อหาและแนวความคิดของสื่อนั้นๆ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดแนวความคิดและจินตนาการด้วยภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว สามารถสื่อสาร สร้างมุมมองที่แตกต่าง และดึงดูดความสนใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ
ศึกษาประวัติศาสตร์การออกแบบนิเทศศิลป์ เรียนรู้วิวัฒนาการ ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ที่มีผลต่อการออกแบบนิเทศศิลป์ในแต่ละยุคสมัย
ศึกษาอิทธิพลของการออกแบบนิเทศศิลป์ที่มีต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของกระแสและแนวทางการออกแบบนิเทศศิลป์ร่วมสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบสื่อส่งเสริมการขายและบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นโครงสร้าง วัสดุ และการออกแบบกราฟิก เพื่อสร้างบุคลิก ลักษณะเฉพาะตัวให้กับสินค้าหรือบริการ
ศึกษาความหมาย ประเภท แนวความคิดพื้นฐานของการวิจัยการออกแบบ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการวิจัย การกำหนดปัญหานำวิจัย การศึกษาทบทวนทฤษฎี แนวความคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผลการวิจัยเพื่อนำ ไปสู่งานออกแบบนิเทศศิลป์
ศึกษาการดำเนินธุรกิจการออกแบบ การบริหารจัดการ การดำเนินงาน ควบคุม และวัดประสิทธิผลของงาน รวมถึงแนวคิด เกี่ยวกับการตลาด ปัจจัยเบื้องต้นและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและมีอิทธิพลต่อการออกแบบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในการออกแบบนิเทศศิลป์
ศึกษาแนวทางในการประกอบวิชาชีพในการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักปฏิบัติวิชาชีพ การจัดการสำนักงานออกแบบ ปัญหา ข้อกำหนดต่างๆ ความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องกับวิชาชีพอื่นๆ จรรยาบรรณและพันธะกรณีของผู้ประกอบวิชาชีพ เงื่อนไขใน การประกอบธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นหลักการในการนำไปใช้ประกอบวิชาชีพต่อไป
สศ. 301 เตรียมสหกิจศึกษา 3 (3 - 0 - 6) CO 301 Pre-Cooperative Education การเขียนจดหมายสมัครงาน การเลือกสถานประกอบการ เทคนิคการเข้ารับการสัมภาษณ์งาน การพัฒนาทักษะในการสื่อสาร บุคลิกภาพ การทำงานเป็นทีม สร้างสรรค์การทำงานด้วยกิจกรรม 5 ส วัฒนธรรมองค์กร เทคนิคการคิดอย่างสร้างสรรค์ เทคนิคการเขียนรายงาน และการนำเสนอ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติงาน และความปลอดภัยในสถานประกอบการ วิชาเอก-เลือก นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์สามารถเลือกวิชาเอก-เลือกในกลุ่มวิชาดังนี้ - วิชาเอก – เลือก (15 หน่วยกิต แผนการเรียนแบบปกติ) - วิชาเอก – เลือก (9 หน่วยกิต แผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา) - วิชาเอก-เลือกการออกแบบโฆษณา(AdvertisingDesign)
ศึกษาและเรียนรู้หลักการถ่ายภาพวัตถุต่างๆ การจัดแสงและคุณภาพของแสงที่เหมาะสมกับวัตถุพื้นผิวต่างๆ การจัด องค์ประกอบภาพ การจัดสิ่งของประกอบฉาก รวมถึงการวางแนวคิดและกำหนดเนื้อหา ในการถ่ายภาพ เพื่อนำไปใช้ในงานโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการแต่งหรือประกอบภาพถ่ายให้ดูสมจริง หรือเหนือจินตนาการแบบมืออาชีพด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์ภาพโฆษณาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมอย่างมีชั้นเชิง
ศึกษาและปฏิบัติการผลิตสื่อวีดิโอและภาพยนตร์สั้น โดยศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมดในการสร้างงาน ตั้งแต่เครื่องมือ สถานที่ในการถ่ายทำ การเตรียมการถ่ายทำ การตัดต่อ การลำดับภาพ และการอัดเสียงประกอบ โดยเน้นรูปแบบการสื่อสาร และการดำเนินเรื่องที่แตกต่างกันตามจุดมุ่งหมายของภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์สารคดี ฯลฯ
ศึกษาพื้นฐานการสร้างสรรค์งานออกแบบโฆษณา เรียนรู้การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า บริการ กลุ่มเป้าหมาย กระบวนการ สร้างสรรค์ การกำหนดแนวความคิด (Concept) และแนวคิดหลัก (Big Idea) รวมถึง วิธีการนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นความรู้ : สอบได้ อน.394-2 การสร้างสรรค์งานโฆษณา 1 ศึกษาการสร้างสรรค์งานออกแบบโฆษณาขั้นสูง โดยเน้นกระบวนการทำงานสำหรับสื่อ TVC (TV Commercial) และสื่อโฆษณาอื่นๆ
วิชาเอก-เลือกแอนิเมชั่น (Animation)
ศึกษาและปฏิบัติทักษะการเล่าเรื่องผ่านการทำสตอรี่บอร์ด (Storyboard) และพัฒนาเป็นภาพเคลื่อนไหว (Animatics) เพื่อวางแผน ทดลอง พัฒนาและเตรียมความพร้อมก่อสร้างภาพ้คลื่อนไหวที่มีตัวแปรความยาวของเวลาที่ต่างกัน เพื่อสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ในลักษณะงานออกแบบไทม์เบสคือ (Time-Based Design)
ศึกษาและปฎิบัติการออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครในจินตนาการ ตั้งแต่รูปร่างหน้าตา คุณลักษณะเฉพาะภายนอก ไปจนถึงการสร้างบุคลิกลักษณะนิสัยใจคอ การสื่อสารและการแสดงออกทางความคิดและอารมณ์ เพื่อสร้างชีวิตให้กับตัวละคร ที่สร้างขึ้น สำหรับการนำไปใช้ต่อยอดประยุกต์ใช้ในสื่อต่างๆ ตั้งแต่บนหน้ากระดาษ 2 มิติ ในเสปซ 3 มิติ ไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว 4 มิติ
ศึกษาแนวคิดและหลักทฤษฎีของแอนิเมชั่น ฝึกปฏิบัติการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การวาดไป จนถึงการขยับทีละภาพรวมถึงทดลองการใช้เครื่องมือวัสดุ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ดินสอ ดินน้ำมัน ตุ๊กตา สิ่งรอบตัว ไปจนถึงมนุษย์
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานการสร้างภาพสามมิติโดยการขึ้นรูปจำลอง (Model) เพื่อนำไปใช้ในการสร้างงานออกแบบ 3 มิติ เช่น ภาพยนตร์ เกมส์ มิวสิกวีดิโอ ด้วยโปรแกรมการออกแบบ 3 มิติ เช่น 3D Max และ Maya
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียบเรียงและจัดองค์ประกอบภาพเคลื่อนไหวที่เป็นการนำมาจากแหล่งต่างๆ โดยเน้นที่การประกอบตกแต่งภาพพื้นหลัง หรือการเปลี่ยนฉากสถานที่ที่ไม่มีจริงให้เป็นฉากประกอบในแอนิเมชั่น วีดิโอ หรือภาพยนตร์ วิชาเอก-เลือกการออกแบบสื่อวิดิโอและภาพเคลื่อนไหว (Digital Video Production and Moving Images)
ศึกษาและปฏิบัติทักษะการเล่าเรื่องผ่านการทำสตอรี่บอร์ด (Storyboard) และพัฒนาเป็นภาพเคลื่อนไหว (Animatics) เพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีตัวแปรคือ ความยาวของเวลาที่ต่างกัน เพื่อสื่อสารผ่านสื่อต่างๆใน ลักษณะงานออกแบบไทม์เบส (Time-Based Design)
ศึกษาและปฏิบัติการผลิตสื่อวีดิโอและภาพยนตร์สั้น โดยศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมดในการสร้างงาน ตั้งแต่เครื่องมือ สถานที่ในการถ่ายทำ การเตรียมการถ่ายทำ การตัดต่อ การลำดับภาพ และการอัดเสียงประกอบ โดยเน้นรูปแบบการสื่อสารและ การเล่าเรื่องตามจุดมุ่งหมายของสื่อแต่ละแบบ เช่น ภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์โฆษณา
ศึกษาและปฏิบัติการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหวสำหรับสื่อต่างๆ ตั้งแต่บนโทรศัพท์มือถือไปจนถึงจอ ขนาดยักษ์ โดยผสมผสานการใช้ภาพกราฟิก วีดิโอ แอนิเมชั่น เสียงและดนตรีเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อสารให้ข้อมูล เล่าเรื่อง สร้างบรรยากาศ หรือใช้ร่วมกับภาพเคลื่อนไหวอื่นๆ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานการสร้างเทคนิคพิเศษต่างๆ สำหรับงานภาพเคลื่อนไหว โดยใช้การผสมผสานกัน ระหว่างภาพ 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อสร้างสรรค์ภาพเสมือนจริงหรือเหนือจริง สำหรับแอนิเมชั่น ภาพยนตร์ หรือมิวสิควีดิโอ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียบเรียงและจัดองค์ประกอบภาพเคลื่อนไหวที่เป็นการนำมาจากแหล่งต่างๆ โดยเน้นที่การ ประกอบตกแต่งภาพพื้นหลัง หรือการเปลี่ยนฉากสถานที่ที่ไม่มีจริงให้เป็นฉากประกอบในแอนิเมชั่น วีดิโอ หรือภาพยนตร์
วิชาเอก-เลือกภาพประกอบ (Illustration)
ศึกษาและปฎิบัติการออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครในจินตนาการ ตั้งแต่รูปร่างหน้าตา คุณลักษณะเฉพาะภายนอก ไปจนถึง การสร้างบุคลิกลักษณะนิสัยใจคอ การสื่อสารและการแสดงออกทางความคิดและอารมณ์ เพื่อสร้างชีวิตให้กับตัวละครที่สร้างขึ้น สำหรับการนำไปใช้ต่อยอด<ประยุกต์ใช้ในสื่อต่างๆ ตั้งแต่บนหน้ากระดาษ 2 มิติ ในสเปซ 3 มิติ ไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว 4 มิติ
ศึกษาแนวคิดและหลักทฤษฎีของแอนิเมชั่น ฝึกปฏิบัติการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การวาดไป จนถึงการขยับทีละภาพ รวมถึงทดลองการใช้เครื่องมือ วัสดุ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ดินสอ ดินน้ำมัน ตุ๊กตา สิ่งรอบตัว ไปจน ถึงมนุษย์ วิชาเอก-เลือกการออกแบบสื่ออินเตอร์แอคทีฟ (Interactive Media)
ศึกษาและปฏิบัติการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหวสำหรับสื่อต่างๆ ตั้งแต่บนโทรศัพท์มือถือไปจนถึงจอ ขนาดยักษ์ โดยผสมผสานการใช้ภาพกราฟิก วีดิโอ แอนิเมชั่น เสียงและดนตรีเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อสาร ให้ข้อมูล เล่าเรื่อง สร้างบรรยากาศ หรือใช้ร่วมกับภาพเคลื่อนไหวอื่นๆ
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการออกแบบเว็บไซต์โดยเน้นการออกแบบเลย์เอาท์ การวางผังโครงสร้าง การออกแบบอินเทอร์เฟซ เทคนิคและโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ รวมถึงหัวข้อต่างๆ เช่น HTML, CSS, XML, FTP, CMS และอื่นๆ
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับการออกแบบสื่ออินเตอร์แอคทีฟในรูปแบบเว็บไซต์ ซีดีรอม มัลติทัชสกรีน คีออส วีดิโอและสื่ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในบริบทที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เช่น การใช้ Flash Action Script สำหรับการออกแบบเว็บไซต์
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบสื่อผสมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เป็นการผสมผสาน ระหว่างตัวอักษร (Text)รูปภาพ (Image) เสียง (Sound) หรือภาพเคลื่อนไหว (Moving Image) ในบริบทที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เช่น สื่อเพื่อการเรียนรู้ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซีดีรอม ภาพเคลื่อนไหวประกอบเพลง (VJ) หรืออื่นๆ ที่ใช้การอินเตอร์แอคทีฟบนคอมพิวเตอร์
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบสื่อผสมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานกับการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างสรรค์ งานออกแบบที่ใช้การอินเตอร์แอคทีฟที่ไม่จำกัดอยู่แค่เม้าส์และคีย์บอร์ด รวมถึงการศึกษาเทคนิคขั้นสูงอื่นๆ ในขอบเขตของการออกแบบสื่อ อินเตอร์แอคทีฟ เช่น Computer Vision ข. หมวดวิชาเลือกเสรี ( 6 หน่วยกิต) ศก.105 ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 3 (3 – 0 – 6) FA105 History of Arts I ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในปลายยุคสมัยใหม่ โดยเน้นความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาความคิดหลักของยุคสมัยสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และรูปแบบของศิลปะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจศิลปะตะวันตก ในยุคสมัยใหม่อย่างแท้จริง อน.251 การนำเสนอผลงานส่วนบุคคล 3 (3 – 0 – 6) CD 251 Portfolio ศึกษาแนวทางการนำเสนอผลงานส่วนบุคคล เตรียมผลงาน และจัดทำผลงานส่วนบุคคล เพื่อใช้สมัครงานและศึกษาต่อในอนาคต อน.252 การพิมพ์ซิลสกรีน 3 (1- 4 – 4) CD 252 Silk Screen ศึกษาทฤษฎีและปฎิบัติการพิมพ์ซิลสกรีนกับสื่อสิ่งพิมพ์บนวัสดุต่างๆ เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบนิเทศศิลป์
อน.253 กระบวนการพิมพ์ 3 (3 – 0 – 6) CD 253 Print Production ศึกษาหลักเกณฑ์ กระบวนการพิมพ์ และเทคโนโลยีการพิมพ์ในระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในออกแบบนิเทศศิลป์ การเตรียมไฟล์งานก่อนส่งงานเข้าโรงพิมพ์ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิมพ์ อน.254 การออกแบบกราฟิกส์สำหรับบรรจุภัณฑ์ 3 (1- 4 – 4) CD 254 Graphic Design for Packaging ศึกษาวัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ฝึกปฏิบัติการออกแบบกราฟิกส์ที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ โดยสังเขป |