โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
แยกออกเป็นแผนการศึกษาแบบปกติ และแผนการศึกษาแบบสหกิจศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 139 | หน่วยกิต | |
ก. | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ | 9 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต | |
ข. | หมวดวิชาเฉพาะ | 103 | หน่วยกิต |
วิชาแกน | 24 | หน่วยกิต | |
วิชาเอก-บังคับ | 70 | หน่วยกิต | |
วิชาเอก-เลือก | 9 | หน่วยกิต | |
ค. | หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
รายวิชา
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (9 หน่วยกิต) หน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
อก. 011 | ภาษาอังกฤษเชิงปฏิบัติ | 3 (2 – 2 – 6) | |
EN 011 | English in Action | ||
อก. 012 | ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน | 3 (2 – 2 – 6) | |
EN 012 | English for Daily Life | ||
อก. 013 | ภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดความคิด | 3 (2 – 2 – 6) | |
EN 013 | English for Expressing Ideas |
ศท. 111 | คุณค่าแห่งบัณฑิต | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 111 | Value of Graduates | ||
ศท. 112 | เทคโนโลยีสารสนเทศกับโลกอนาคต | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 112 | Information Technology and the Future World | ||
ศท. 113 | ภาษาไทยเพื่อการสร้างสรรค์ | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 113 | Thai Language for Creativity | ||
ศท. 114 | พลเมืองไทย พลเมืองโลก | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 114 | Thai Citizens, Global Citizens | ||
ศท. 115 | สุนทรียภาพแห่งชีวิต | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 115 | The Art of Life |
ศท. 116 | ทักษะความเป็นผู้นำ | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 116 | Leadership Skills | ||
ศท. 117 | คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 117 | Mathematics for Daily Life | ||
ศท. 118 | ชีวิตและสุขภาพ | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 118 | Life and Health | ||
ศท. 119 | ภูมิปัญญาไทยและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ | 3 (3 – 0 – 6) | |
GE 119 | Thai Wisdom and Creative Economy |
วิชาแกน (24 หน่วยกิต) หน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
ศก 101 | วาดเส้น 1 | 3 (1 – 4 – 4) | |
FA 101 | Drawing I | ||
ศก 102 | วาดเส้น 2 | 3 (1 – 4 – 4) | |
FA 102 | Drawing II | ||
ศก 103 | การออกแบบ 2 มิติ | 3 (2 – 2 – 5) | |
FA 103 | Two Dimensional Design | ||
ศก 104 | การออกแบบ 3 มิติ | 3 (2 – 2 – 5) | |
FA 104 | Three Dimensional Design | ||
ศก 105 | ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 | 3 (2 – 2 – 5) | |
FA 105 | History of Arts I | ||
ศก 106 | ประวัติศาสตร์ศิลปะ 2 | 3 (3 – 0 – 6) | |
FA 106 | History of Arts II | ||
ศก 107 | ทฤษฎีสี | 3 (2 – 2 – 5) | |
FA 107 | Color Theory | ||
ศก 108 | พื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อศิลปะและการออกแบบ | 3 (1 – 4 – 4) | |
FA 108 | Basic Visual Computing |
ทศ. 121 | จิตรกรรม 1 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 121 | Painting I | ||
ทศ. 122 | จิตรกรรม 2 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 122 | Painting II | ||
ทศ. 223 | ประติมากรรม 1 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 223 | Sculpture I | ||
ทศ. 224 | ภาพพิมพ์1 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 224 | Printmaking I | ||
ทศ. 225 | ศิลปะภาพถ่าย | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 225 | Photography | ||
ทศ. 226 | ปะติมากรรม 2 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 226 | Sculpture II | ||
ทศ. 227 | ภาพพิมพ์ 2 | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 227 | Printmaking II | ||
ทศ. 228 | มีเดียอาร์ต | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 228 | Media Art | ||
ทศ. 231 | ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 231 | Contemporary Arts and Postmodern Issues | ||
ทศ. 232 | ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ในเอเชีย | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 232 | Contemporary Arts and Postmodern Issues in Asia | ||
ทศ. 333 | การทำประเทศไทยให้เป็นสมัยใหม่กับศิลปะ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 333 | Modernization and Thai Arts | ||
ทศ. 334 | สุนทรียศาสตร์ 1 | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 334 | Aesthetic I | ||
ทศ. 335 | สุนทรียศาสตร์ 2 | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 335 | Aesthetic II | ||
ทศ. 336 | ศิลปะวิจารณ์ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 336 | Art Criticism | ||
ทศ. 341 | ทัศนศิลป์ 1 | 4 (1 – 6 – 5) | |
VA 341 | Visual Arts I | ||
ทศ. 342 | ทัศนศิลป์ 2 | 4 (1 – 6 – 5) | |
Visual Arts II | Visual Arts II | ||
ทศ. 437 | วัฒนธรรมทางการเห็น | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 437 | Visual Culture | ||
ทศ. 443 | ทัศนศิลป์ 3 | 4 (1 – 6 – 5) | |
VA 443 | Visual Arts III | ||
ทศ. 444 | การสัมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ | 4 (3 – 4 – 8) | |
VA 444 | Seminar and Analysis in Visual Arts | ||
ทศ. 445 | การเตรียมโครงการทัศนศิลป์ | 3 (1 – 4 – 4) | |
VA 445 | Degree Project Preparation | ||
ทศ. 446 | โครงการทัศนศิลป์ | 6 (0 – 12 – 6) | |
VA 446 | Degree Project in Visual Arts |
-
-
- นักศึกษาที่เลือกเรียนแผนการศึกษาแบบปกติ สามารถเลือกจากรายวิชาดังต่อไปนี้
- นักศึกษาที่เลือกแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา ต้องผ่าน สศ. 301 เตรียมสหกิจศึกษา ก่อนลงทะเบียนเรียน ทศ. 368 สหกิจศึกษา รวม 6 หน่วยกิต และอีก 3 หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกจากรายวิชาดังต่อไปนี้
- หน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
-
ทศ. 351 | ภาพถ่ายในสตูดิโอ | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 351 | Studio Photography | ||
ทศ. 352 | การผลิตวิดีโอ | 3 (1 – 5 – 4.5) | |
VA 352 | Video Production | ||
ทศ. 361 | การฝึกทักษะสำหรับการดำเนินชีวิตในเชิงวิชาชีพ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 361 | Professional Preparation | ||
ทศ. 362 | การจัดการองค์กรทางศิลปะ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 362 | Art Management | ||
ทศ. 363 | พิพิธภัณฑ์ศึกษา | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 363 | Museum Studies | ||
ทศ. 364 | องค์ความรู้เพื่อการเป็นภัณฑารักษ์ | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 364 | Curatorial Knowledge | ||
ทศ. 365 | การตลาดสำหรับองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 365 | Marketing for Art Organizations | ||
ทศ. 366 | ศิลปะไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 366 | Thai Arts and Cultural Identities | ||
ทศ. 367 | สัญวิทยา | 3 (3 – 0 – 6) | |
VA 367 | Semiotics | ||
ทศ. 368 | สหกิจศึกษา | 6 (0 – 35 – 0) | |
VA 368 | Cooperative Education |
นักศึกษาจะต้องเลือกเรียน รายวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือเลือกเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้
กม. 102 | กฏหมายธุรกิจ | 3 (3 – 0 – 6) | |
LA 102 | Business Law | ||
ศก. 311 | การศึกษาทฤษฎีของความรู้ผ่านแนวคิดของงานสถาปัตยกรรมไทย | 3 (2 – 2 – 5) | |
FA 311 | Epistemology through Thai Architecture | ||
ศก. 312 | ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์เชิงทดลอง | 3 (1 – 4 – 4) | |
FA 312 | Experimental Typography | ||
ศก. 313 | การออกแบบหนังสือเชิงทดลอง | 3 (1 – 4 – 4) | |
FA 313 | Experimental Book Design | ||
ศก. 332 | ศิลปปริทัศน์ | 3 (3 – 0 – 6) | |
FA 332 | Survey of Art | ||
ศก. 351 | ศิลปกรรมพื้นบ้าน | 3 (3 – 0 – 6) | |
FA 351 | Folk Arts | ||
ศก. 431 | การดำเนินธุรกิจการออกแบบ | 3 (3 – 0 – 6) | |
FA 431 | Design Management | ||
สศ. 301 | เตรียมสหกิจศึกษา | 3 (3 – 0 – 6) | |
CO 301 | Pre-Cooperative Education | ||
อน. 234 | ภาพประกอบ | 3 (1 – 4 – 4) | |
CD 234 | Illustration |
โปรแกรมการศึกษา
โปรแกรมการศึกษา
(แผนการศึกษา 4 ปี แบบปกติ)
ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 011 |
ภาษาอังกฤษเชิงปฏิบัติ |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศก. 101 |
วาดเส้น 1 |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ศก. 103 |
การออกแบบ 2 มิติ |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ศก. 105 |
ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 107 |
ทฤษฎีสี |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ทศ. 121 |
จิตรกรรม 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
|
|
|
|
|
|
18 |
(11 – 15 – 30.5) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 012 |
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศท. 113 |
ภาษาไทยเพื่อการสร้างสรรค์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 102 |
วาดเส้น 2 |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ศก. 104 |
การออกแบบ 3 มิติ |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ศก. 106 |
ประวัติศาสตร์ศิลปะ 2 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 108 |
คอมพิวเตอร์เพื่อศิลปะและการออกแบบ |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ทศ. 122 |
จิตรกรรม 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
|
|
21 |
(13 – 17– 35.5) |
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 013 |
ภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดความคิด |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศท. 112 |
เทคโนโลยีสารสนเทศกับโลกอนาคต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 223 |
ประติมากรรม 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 224 |
ภาพพิมพ์ 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 225 |
ภาพถ่าย |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 231 |
ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
|
|
|
|
18 |
(11 –17– 31.5) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 114 |
พลเมืองไทย พลเมืองโลก |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศท. 115 |
สุนทรียภาพแห่งชีวิต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 226 |
ประติมากรรม 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 227 |
ภาพพิมพ์ 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 228 |
มีเดียอาร์ต |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 232 |
ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ในเอเชีย |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
|
|
|
|
18 |
(12 – 15 – 31.5) |
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท.119 |
ภูมิปัญญาไทยและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 341 |
ทัศนศิลป์ 1 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
ทศ. 333 |
การทำประเทศไทยให้เป็นสมัยใหม่กับศิลปะ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 334 |
สุนทรียศาสตร์ 1 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเอก-เลือก 1 วิชา |
3 |
|
|
|
|
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเลือกเสรี 1 วิชา |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
19 |
(14 – 11 – 33.5)หรือ (16 – 6 – 35) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 116 |
ทักษะความเป็นผู้นำ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 342 |
ทัศนศิลป์ 2 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
ทศ. 335 |
สุนทรียศาสตร์ 2 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 336 |
ศิลปะวิจารณ์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเอก-เลือก 1 วิชา |
3 |
(1 – 5 – 4.5) หรือ |
|
|
|
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเลือกเสรี 1 วิชา |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
19 |
(14 – 11 – 33.5) หรือ (16 – 6 – 35) |
ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 111 |
คุณค่าแห่งบัณฑิต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 443 |
ทัศนศิลป์ 3 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
ทศ. 445 |
การเตรียมโครงการทัศนศิลป์ |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ทศ. 437 |
วัฒนธรรมทางการเห็น |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเอก-เลือก 1 วิชา |
3 |
(1 – 5 – 4.5 ) หรือ |
|
|
|
(3 – 0 – 6) |
|
|
16 |
(9 – 15 – 25.5 ) หรือ (11– 10 – 27) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ทศ. 444 |
การสัมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ |
4 |
(3 – 4 – 8) |
ทศ. 446 |
โครงการทัศนศิลป์ |
6 |
(0 – 12 – 6) |
|
|
10 |
(3 – 16 – 14) |
(แผนการศึกษา 4 ปี แบบสหกิจศึกษา)
ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 011 |
ภาษาอังกฤษเชิงปฏิบัติ |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศก. 101 |
วาดเส้น 1 |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ศก. 103 |
การออกแบบ 2 มิติ |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ศก. 105 |
ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 107 |
ทฤษฎีสี |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ทศ. 121 |
จิตรกรรม 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
|
|
|
|
|
|
18 |
(11 – 15 – 30.5) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 012 |
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศท. 113 |
ภาษาไทยเพื่อการสร้างสรรค์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 102 |
วาดเส้น 2 |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ศก. 104 |
การออกแบบ 3 มิติ |
3 |
(2 – 2 – 5) |
ศก. 106 |
ประวัติศาสตร์ศิลปะ 2 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศก. 108 |
พื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อศิลปะและการออกแบบ |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ทศ. 122 |
จิตรกรรม 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
|
|
21 |
(13 – 17– 35.5) |
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
อก. 013 |
ภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดความคิด |
3 |
(2 – 2 – 6) |
ศท. 112 |
เทคโนโลยีสารสนเทศกับโลกอนาคต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 223 |
ประติมากรรม 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 224 |
ภาพพิมพ์ 1 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 225 |
ภาพถ่าย |
3 |
(1 – 5 – 4.5 ) |
ทศ. 231 |
ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
|
|
|
|
18 |
(11 – 17– 31.5) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 114 |
พลเมืองไทย พลเมืองโลก |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศท. 115 |
สุนทรียภาพแห่งชีวิต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 226 |
ประติมากรรม 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 227 |
ภาพพิมพ์ 2 |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 228 |
มีเดียอาร์ต |
3 |
(1 – 5 – 4.5) |
ทศ. 232 |
ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ในเอเชีย |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
|
|
|
|
18 |
( 12 – 15– 31.5 ) |
ภาคฤดูร้อน
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 116 |
ทักษะความเป็นผู้นำ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ศท.119 |
ภูมิปัญญาและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเลือกเสรี 1 วิชา |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
9 |
(9 – 0 – 18) |
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ทศ. 341 |
ทัศนศิลป์ 1 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
ทศ. 333 |
การทำประเทศไทยให้เป็นสมัยใหม่กับศิลปะ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 334 |
สุนทรียศาสตร์ 1 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 336 |
ศิลปะวิจารณ์ |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
วิชาเอก-เลือก 1 วิชา |
3 |
(1 – 5 – 4.5) หรือ (3 – 0 – 6) |
|
วิชาเลือกเสรี 1 วิชา |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
19 |
(14 – 11 – 27.5 ) หรือ (16 – 6 – 29) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ทศ. 368 |
สหกิจศึกษา |
6 |
(0 – 35 -0) |
|
|
|
|
|
|
6 |
(0 – 35 -0) |
ภาคฤดูร้อน
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ทศ. 335 |
สุนทรียศาสตร์ 2 |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 342 |
ทัศนศิลป์ 2 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
|
|
|
|
|
|
7 |
(4 – 6 – 11) |
ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ศท. 111 |
คุณค่าแห่งบัณฑิต |
3 |
(3 – 0 – 6) |
ทศ. 443 |
ทัศนศิลป์ 3 |
4 |
(1 – 6 – 5) |
ทศ. 445 |
การเตรียมโครงการทัศนศิลป์ |
3 |
(1 – 4 – 4) |
ทศ. 437 |
วัฒนธรรมทางการเห็น |
3 |
(3 – 0 – 6) |
|
|
|
|
|
|
13 |
( 8– 10 – 21) |
ภาคการศึกษาที่ 2
รหัส |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
บรรยาย-ปฏิบัติ- ศึกษาด้วยตนเอง |
ทศ. 444 |
การสัมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ |
4 |
(3 – 4 – 8) |
ทศ. 446 |
โครงการทัศนศิลป์ |
6 |
(0 – 12 – 6) |
|
|
|
|
|
|
10 |
(3 – 16 – 14) |
รายละเอียดวิชา
รายละเอียดวิชา ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ( 30 หน่วยกิต) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ (9 หน่วยกิต)
เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่ฝึกฝนทักษะด้านการอ่านจับใจความ การเขียนถ่ายทอดความคิดแบบอิสระและการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์พื้นฐานพร้อมทั้งการฝึกฝนทักษะ ด้านการฟัง การพูดและการออกเสียงโดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการ ทางภาษา
พัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงฝึกฝนทักษะด้านการอ่านและ เขียนแสดงความคิดเห็นโต้ตอบต่อเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลพร้อมทั้งฝึกฝนทักษะด้านการฟังการออก เสียงและการพูดโต้ตอบเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันโดยใช้โปรมแกรมเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ในห้องปฏิบัติการทางภาษา
ฝึกฝนทักษะด้านการอ่านและเขียนเรียงความสั้นเพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลต่อเรื่องที่อยู่ ในความสนใจในปัจจุบันเรียนรู้หลักการและฝึกทักษะด้านการนำเสนอ รวมทั้งทำกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ด้านการฟังและการพูดเพื่อติดต่อสื่อสารในสังคม โดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในห้อง ปฏิบัติการทางภาษา กลุ่มวิชาบังคับ (15 หน่วยกิต)
ศึกษาวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และบุคลิกภาพ ตามปรัชญาของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต การรู้จักตนเองความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผสมผสาน กับหลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคม สมัยใหม่ตลอดจนศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการดำเนินชีวิต
ศึกษาภาษาไทย พลวัตในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและ สังคม มุ่งเน้นทักษะการฟังและการดู การพูด การอ่าน การเขียน การตั้งคำถาม ที่พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ์และสร้างสรรค์ ตลอดจนประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิผล
ศึกษาความหมายและลักษณะที่ดีของการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะในการ อยู่รวมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ความเชื่อ ภาษาและวัฒนธรรม การศึกษาจะเน้นเรื่องความเสมอภาค ความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ในวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุชและให้มีความตระหนักในการเป็นสมาชิกสังคมที่มีจิตกุศล ตลอดจนมีจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม
ศึกษาวิธีการพัฒนาสุนทรียภาพแห่งชีวิต พัฒนาทัศนคติเชิงบวก และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและกลุ่มคน ศึกษาด้านศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม การศึกษาประกอบด้วยการบรรยาย กรณีศึกษา การศึกษาดูงาน และการฝึก ปฏิบัติจริง กลุ่มวิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
ศึกษาความสำคัญของการมีภาวะผู้นำในแง่มุมขององค์ประกอบ คุณลักษณะ ความสามารถ กระบวนการคิด ศักยภาพที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการเป็นผู้นำระดับต่างๆ การตระหนักถึงอุดมคติแห่งการเป็นผู้นำที่ดี มีจิตสาธารณะและสามารถจัดการกับปัญหาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล รวมถึงการพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ เพื่อนำไป ประยุกษ์ใช้กับสถานการณ์ในทางสร้างสรรค์ตลอดจนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในฐานะที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
ศึกษาพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ความหมายของตัวเลข และสัญลักษณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์กับ ศิลปะและความงาม คณิตศาสตร์สันทนาการ และการนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อาทิ การคำนวณ ดัชนีมวลกายการคิดค่าสาธารณูปโภค การคำนวณภาษีเงินได้ การวางแผนเงินออมและการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ เป็นต้น
ความรู้ความเข้าใจเชิงบูรณาการเกี่ยวกับวงจรชีวิต พฤติกรรม การดูแลสุขภาพของตนเอง อาหารและยา การออกกำลังกายการส่งเสริมสุขภาพจิต การประกันชีวิตและสุขภาพ การป้องกันตัวจากอุบัติภัย และโรคอุบัติใหม่ รวมทั้งเรื่องของสิทธิมนุษยชน
ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวกับ มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติและ องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย และการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถนำความรู้ ด้านภูมิปัญญาไทยมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการทางการตลาด เพื่อประโยชน์ของบุคคล กลุ่มชม และประเทศชาติ ข. หมวดวิชาเฉพาะ (103 หน่วยกิต) วิชาแกน (24 หน่วยกิต) ศก. 101 วาดเส้น 1 3 (1 – 4 – 4) FA 101 Drawing I ศึกษาและปฏิบัติการวาดเส้นในฐานะภาษาภาพ เพื่อให้เข้าใจแนวคิด หลักทฤษฎี และองค์ประกอบต่าง ๆ ของการวาดเส้นเช่น เส้น รูปทรง แสง-เงา พื้นผิว และการจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ ฝึกการรับรู้และแสดงออกด้วย เทคนิควิธีการใช้เครื่องมือและวัตถุในลักษณะต่างๆเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของวิชาชีพ ศก. 102 วาดเส้น 2 3 (1 – 4 – 4) FA 102 Drawing II พื้นความรู้ : สอบได้ ศก.101 ศึกษาและปฏิบัติการวาดเส้นในฐานะภาษาภาพ เพื่อให้เข้าใจแนวคิด หลักทฤษฏี และองค์ประกอบต่างๆ ของการวาดเส้นต่อเนื่องจากเนื้อหาในวิชา ศก.101 วาดเส้น 1 เรียนรู้และฝึกฝนการรับรู้และการแสดงออกในแง่ ของความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของวิชาชีพ ศก. 103 การออกแบบ 2 มิติ 3 (2 – 2 – 5) FA 103 Two Dimensional Design ศึกษาความสอดคล้องระหว่างภาคปฏิบัติการและทฤษฎีพื้นฐานในการสร้างงาน 2 มิติ อันประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของของทัศนะธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่มีต่อการออกแบบ เน้นทักษะในการสื่อสาร ทั้งทางถ้อยคำอธบาย (Verbal) และการสื่อสารด้วยภาษาภาพ (Visual)เพื่อการสร้างงานอย่างมีเหตุผลและ สามารถนำข้อมูลและความรู้ต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการสร้างงานออกแบบ 2 มิติ ได้อย่างมีคุณค่า ศก. 104 การออกแบบ 3 มิติ 3 (2 – 2 – 5) FA 104 Three Dimensional Design ศึกษาความสอดคล้องระหว่างภาคปฏิบัติการและทฤษฎีพื้นฐานในการสร้างงาน 3 มิติ เน้นทักษะในการสื่อสารทั้ง ทางถ้อยตำอธิบาย (Verbal) และการสื่อสารด้วยภาษาภาพ (Visual) เพื่อการสร้างงานอย่างมีเหตุผลและสามารถนำ ข้อมูลและความรู้ต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการสร้างงานออกแบบ 3 มิติได้อย่างมีคุณค่า ศก. 105 ประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 3 (3 – 0 – 6) FA 105 History of Arts I ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปลายยุคกลางโดยสังเขป และศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกตั้งแต่ต้นสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเน้นา ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ความคิดหลักของยุคสมัย สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และรูปแบบ ของศิลปะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจศิลปะตะวันตกอย่างแท้จริง ศก. 106 ประวัติศาสตร์ศิลปะ 2 3 (3 – 0 – 6) FA 106 History of Arts II พื้นความรู้ : สอบได้ ศก. 105 ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ของตะวันตกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงสมัยสงครามโลก ครั้งที่สองในปลายยุคสมัยใหม่โดยเน้นความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ความคิดหลักของยุคสมัย สังคม วัฒนธรรม เทโนโลยี และรูปแบบของศิลปะเพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจศิลปะตะวันตกในยุคสมัยใหม่อย่างแท้จริง ศก. 107 ทฤษฎี สี 3 (2 – 2 – 5) FA 107 Color Theory ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องสีทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในคุณสมบัติ ของสีทั้งในทางกายภาพและจิตวิทยาที่มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ รวมถึงความหมายและสุนทรียภาพในการใช้สี เพื่อให้สามารถนำหลักทฤษฏีมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างผลงานทางศิลปะและการออกแบบได้อย่างมีเหตุและผล ศก. 108 พื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อศิลปะและการออกแบบ 3 (1 – 4 – 4) FA 108 Basic Visual Computing ศึกษาและปฏิบัติในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ตลอดจนศึกษาการใช้ ซอฟท์แวร์ที่มีอยู่ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างผลงานทางศิลปะและการออกแบบ วิชาเอก-บังคับ (70 หน่วยกิต) ทศ. 121 จิตรกรรม1 3 (1 – 5 – 4.5) VA 121 Painting I ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อจิตรกรรมด้วยสีอะครีลิก เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของสื่อ และสามารถสร้างงานจิตรกรรมในระดับพื้นฐานได้ ทศ. 122 จิตรกรรม 2 3 (1 – 5 – 4.5) VA 122 Painting II พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 121 ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อจิตรกรรมด้วยสีน้ำมัน เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของสื่อ และสามารถสร้างงานจิตรกรรมในระดับพื้นฐานได้ ทศ. 223 ประติมากรรม1 3 (1 – 5 – 4.5) VA 223 Sculpture I ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อประติมากรรม เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของสื่อ และสามารถสร้างงานประติมากรรมในระดับพื้นฐานได้ โดยเรียนรู้เทคนิคการ ทำแม่พิมพ์และการหล่อ รวมทั้งเรียนรู้กระบวนการสร้างผลงานด้วยไม้ ทศ. 224 ภาพ พิมพ์1 3 (1 – 5 – 4.5) VA 224 Printmaking Iศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อภาพพิมพ์ เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของสื่อและสามารถสร้างงานภาพพิมพ์ในระดับพื้นฐานได้ โดยเรียนรู้การสร้างสื่อภาพพิมพ์ 2 กระบวนการหลักคือ แม่พิมพ์ร่องลึก (Intaglio Process) และ แม่พิมพ์ตะแกรงไหม (Silk–Screen) ในขอบเขตของการสร้างงานด้วยมือ (hand drawn) ทศ. 225 ศิลปะภาพ ถ่าย 3 (1 – 5 – 4.5) VA 225 Photography ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อภาพถ่าย เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะ ของสื่อและสามารถสร้างงานภาพถ่ายในระดับพื้นฐานได้ โดยศึกษาหลักการและปฏิบัติการพื้นฐานของการถ่ายภาพ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ฝึกปฏิบัติการล้างอัด ขยายภาพ และเทคนิคต่าง ๆ ของภาพถ่ายขาว – ดำ ทศ. 226 ประติมากรรม 2 3 (1 – 5 – 4.5) VA 226 Sculpture II พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 223 ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อประติมากรรม เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติ และลักษณะ เฉพาะของสื่อและสามารถสร้างงานประติมากรรมในระดับพื้นฐานได้ โดยเรียนรู้กระบวนการสร้างผลงานด้วยโลหะไป จนถึงการทดลองวัสดุและวิธีการใหม่โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ ทศ. 227 ภาพพิมพ์ 2 3 (1 – 5 – 4.5) VA 227 Printmaking IIพื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 224 ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของสื่อภาพพิมพ์ เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติ และลักษณะ เฉพาะของสื่อและสามารถสร้างงานภาพพิมพ์ในระดับพื้นฐานได้ โดยเรียนรู้การสร้างสื่อภาพพิมพ์ 2 กระบวนการหลักคือ แม่พิมพ์ร่องลึก (Intaglio Process) และ Serigraphy (Silk-Screen) ในรูปของการสร้างหรือพัฒนามา จากการใช้เทคนิคภาพถ่าย ทศ. 228 มีเดีย อาร์ต 3 (1 – 5 – 4.5) VA 228 Media Art ศึกษาและฝึกปฏิบัติปัญหาระดับพื้นฐานของมีเดียอาร์ต เพื่อให้เข้าใจสุนทรียศาสตร์ ธรรมชาติและลักษณะ เฉพาะของสื่อจนสามารถสร้างงานมีเดียอาร์ตในระดับพื้นฐานได้ รวมทั้งศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของ มีเดียอาร์ตโดยเรียนรู้กระบวนการผลิต เทคนิควิธีการ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต่างๆ ทศ. 231 ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ 3 (3 – 0 – 6) VA 231 Contemporary Arts and Postmodern Issuesพื้นความรู้ : สอบได้ ศก. 106 ศึกษาศิลปะร่วมสมัยของตะวันตกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สามารถเข้าใจและ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ เนื้อหา และแนวคิดของงานศิลปะที่เกิดขึ้นในโลกร่วมสมัยโดยเน้นความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาแนวความคิดหลักและประเด็นที่สำคัญของยุคสมัยกับรูปแบบศิลปะเพื่อเป็นพื้นฐานใน การเข้าใจศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง ทศ. 232 ศิลปะร่วมสมัยและประเด็นหลังสมัยใหม่ในเอเชีย 3 (3 – 0 – 6) VA 232 Contemporary Arts and Postmodern Issues in Asia สำรวจและศึกษาความเคลื่อนไหวทางศิลปะร่วมสมัยในเอเชีย เพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และเงื่อนไขต่างๆระหว่างรูปแบบ เนื้อหา และแนวคิดของงานศิลปะที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจ ศิลปะร่วมสมัยของเอเชียอย่างแท้จริง ทศ. 333 การทำประเทศไทยให้เป็นสมัยใหม่กับศิลปะ 3 (3 – 0 – 6) VA 333 Modernization and Thai Arts ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยตั้งแต่ยุคของการทำประเทศไทยให้เป็นสมัยใหม่ (ร.4) จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจๆที่มาและเงื่อนไขต่างๆที่เป็นตัวกำหนดแนวคิดทางศิลปะและสุนทรียศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจ ปัญหาอัตลักษณ์ของศิลปะไทยในยุคปัจจุบันอบ่างแท้จริง ทศ. 334 สุนทรียศาสตร์ 1 3 (3 – 0 – 6) VA 334 Aesthetic I ศึกษาความหมายของปรัชญาศิลปะและสุนทรียศาสตร์ โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฏีของนักปรัชญาต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์และปรัชญาศิลปะสมัยใหม่ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จัก เข้าใจ และสามารถนำความรู้จากปรัชญาศิลปะแนวต่าง ๆ ไปใช้ประกอบความคิดในการสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ และทำความเข้าใจผลงานศิลปกรรมสมัยใหม่ ทศ. 335 สุนทรียศาสตร์ 2 3 (3 – 0 – 6) VA 335 Aesthetic II พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 334 ศึกษาความหมายของปรัชญาศิลปะและสุนทรียศาสตร์ร่วมสมัย โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฏีของนักปรัชญาต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์และปรัชญาศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จัก เข้าใจ และสามารถนำ ความรู้จากปรัชญาศิลปะแนวต่าง ๆ ไปใช้ประกอบความคิดในการสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ และทำความเข้าใจ ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ทศ. 336 ศิลปะ วิจารณ์ 3 (3 – 0 – 6) VA 336 Art Criticism ศึกษาการวิจารณ์ผลงานศิลปะและทฤษฏีการวิจารณ์ศิลปะของสำนักความคิดต่าง ๆ ให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของ ศิลปะแนวต่างๆที่มีอิทธิพลหรือมีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์ในสังคมร่วมสมัย โดยศึกษาหลักการวิจารณ์ในเรื่องความหมาย ขอบข่ายระเบียบวิธีการเพื่อให้สามารถวิจารณ์ผลงานศิลปะได้ด้วยการพูดและการเขียน ทศ. 341 ทัศนศิลป์ 1 4 (1 – 6 – 5) VA 341 Visual Arts I พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 121- ทศ. 122 และ ทศ. 223 - ทศ. 228 ศึกษาและทดลองปฏิบัติงานสร้างสรรค์โดยเน้นการสำรวจความสนใจ ความถนัด และธรรมชาติของนักศึกษาใน ฐานะปัจเจกบุคคลเพื่อสำรวจและค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้สอดคล้องกับการแสดงออกด้วยสื่อ ทัศนศิลป์ร่วมสมัย รวมทั้งสร้างและพัฒนาความเข้าใจ การมองปัญหาและการแก้ปัญหาในการสร้างสรรค์และ ปฏิบัติงานของนักศึกษาแต่ละคนอย่างเป็นระบบ ทศ. 342 ทัศนศิลป์ 2 4 (1 – 6 – 5) VA 342 Visual Arts II พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 341 เปิดโอกาสให้นักศึกษาเสนอชุดความคิด ตีความหมายของศิลปะและการสร้างงานศิลปะเฉพาะบุคคลอย่างเสรี ฝึกการสำรวจและตรวจสอบความคิดคู่ขนานไปกับการทำความเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์และการหาความเป็นไปได้ ในการสร้างผลงานภายใต้ขอบเขตของชุดความคิดนั้น พร้อมไปกับการพัฒนาการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาใน การสร้างสรรค์ตามลักษณะเฉพาะของผลงานของแต่ละบุคคล ทศ. 437 วัฒนธรรมทางการ เห็น 3 (3 – 0 – 6) VA 437 Visual Culture ศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมทางการเห็นในแบบสหวิทยาการ โดยเน้นในการวิพากษ์ทฤษฎีมุมมอง แนวคิด และบทบาทของวัฒนธรรมทางการเห็นในโลกร่วมสมัยที่มีอิทธิพลต่อโลกศิลปะเพื่อให้เกิดความเท่าทันต่อ แนวคิดและปรากฏการณ์ของโลกปัจจุบัน ทศ. 443 ทัศนศิลป์ 3 4 (1 – 6 – 5) VA 443 Visual Arts III พื้นความรู้ : สอบได้ ทศ. 342 นักศึกษาเสนอชุดความคิด การตีความหมายของศิลปะ และกระบวนการสร้างงานศิลปะเฉพาะบุคคลอย่างเสรี รวมทั้งสำรวจและตรวจสอบความคิดคู่ขนานไปกับกระบวนการสร้างสรรค์และหาความเป็นไปได้ในการสร้างผลงาน ภายใต้ขอบเขตของชุดความคิดนั้น พร้อมไปกับการพัฒนาการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในการสร้างสรรค์ ตามลักษณะเฉพาะของผลงานของแต่ละบุคคล โดยเน้นพัฒนาการในเชิงลึก ทศ. 444 การสัมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ 4 (3 – 4 – 8) VA 444 Seminar and Analysis in Visual Arts สร้างกระบวนระบบผ่านการเรียนการสอนเชิงสัมมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ โดยการเน้นและให้ ความสำคัญกับการเปรียบเทียบและบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี วิธีวิทยา และประเด็นร่วมสมัยคู่ขนานไปกับการสร้าง งานศิลปะเฉพาะบุคคลเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถประยุกต์ นำหลักการ แนวคิดหรือวิธีวิทยาต่างๆ ดังกล่าวมา ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของตนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทศ. 445 การเตรียมโครงการทัศนศิลป์ 3 (1 – 4 – 4) VA 445 Degree Project Preparation ศึกษาและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการเพื่อสรุปแนวคิด จุดมุ่งหมาย กระบวนการและการนำเสนอผลงาน สร้างสรรค์ และถ่ายทอดในรูปแบบของการเขียน เพื่อให้สามารถเขียนอธิบายวิธีคิด กระบวนการในการสร้างสรรค์ รูปแบบและเนื้อหาในผลงานของตนได้อย่างชัดเจนและมีระบบ ทศ. 446 โครงการทัศน ศิลป์ 6 (0 – 12 – 6) VA 446 Degree Project in Visual Arts นักศึกษานำเสนอแนวคิดและผลงานของตัวเองที่สรุปรวบรวมเป็นโครงการศิลปะอย่างเป็นระบบ มาจัดแสดงเป็น งานนิทรรศการพร้อมทั้งนำเสนอเอกสารประกอบ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของการศึกษาและ การสร้างสรรค์ผลงานที่มี ลักษณะเฉพาะตัว โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำโครงการทัศนศิลป์ ข้อกำหนด
VA 444 (การสัมมนาและวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์) ที่ให้เรียนไปพร้อมกันได้ และเรียนวิชา เอก-เลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
วิชาเอก-เลือก (9 หน่วยกิต) ทศ. 351 ภาพถ่ายใน สตูดิโอ 3 (1 – 5 – 4.5) VA 351 Studio Photography ศึกษาและฝึกฝนกระบวนการผลิตผลงานภาพถ่ายในสตูดิโอในระดับมืออาชีพ ตั้งแต่การจัดหุ่น การจัดแสงและเทคนิคเฉพาะอื่นๆ ของภาพถ่าย ทศ. 352 การผลิต วิดีโอ 3 (1 – 5 – 4.5) VA 352 Video Production ศึกษาและฝึกฝนกระบวนการผลิตผลงานวิดีโอในระดับมืออาชีพ ตั้งแต่การถ่ายทำ การตัดต่อ ลำดับภาพ การบันทึกเสียงประกอบ และเทคนิคเฉพาะอื่นๆของงานวิดีโอ ทศ. 361 การฝึกทักษะสำหรับการดำเนินชีวิตในเชิงวิชาชีพ 3 (3 – 0 – 6) VA 361 Professional Preparation ฝึกปฏิบัติการนำเสนอโครงการหรือผลงานส่วนบุคคล การรวบรวมและจัดระบบข้อมูล การเตรียมผลงาน การติดต่อบุคคลหรือองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อการแสดงผลงาน จัดนิทรรศการ รวมไปถึงการจำหน่ายงาน ศิลปะและกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในวงการศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย ทศ. 362 การจัดการองค์กรทางศิลปะ 3 (3 – 0 – 6) VA 362 Art Management เรียนรู้ถึงความสำคัญในการจัดการหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ และองค์กรทางศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ ในโลก ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในแบบสหวิทยาการ โดยศึกษาแนวคิดและเทคนิคการแสดงงานโดยวิเคราะห์พื้นที่และ และองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ เช่นการมีส่วนร่วมของชุมชน การเงิน กฎหมาย แนวโน้มโน้มด้านเทคโลยี ความหลากหลายของพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภค ฯลฯ โดยการใช้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง ทศ. 363 พิพิธภัณฑ์ ศึกษา 3 (3 – 0 – 6) VA 363 Museum Studies ศึกษาแนวคิดของการจัดการงานพิพิธภัณฑ์ในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยสำรวจและทำความเข้าใจ แนวคิดและการจัดการพิพิธภัณฑ์ในโลกศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อให้เข้าใจแนวคิดและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ในยุคปัจจุบัน ทศ. 364 องค์ความรู้เพื่อการเป็นภัณฑารักษ์ 3 (3 – 0 – 6) VA 364 Curatorial Knowledge ศึกษาหลักการ แนวคิด วิธีการในการวิเคราะห์ และการจัดการงานศิลปะ โดยเรียนรู้แนวคิด กระบวนการนำเสนอ การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ และการจัดสร้างองค์ความรู้ในฐานะภัณฑารักษ์ เพื่อนำมาปรับใช้ต่อการพัฒนาองค์กร ทางศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย ทศ. 365 การตลาดสำหรับองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม 3 (3 – 0 – 6) VA 365 Marketing for Art Organizations ศึกษากระบวนการการวางแผนการตลาด เพื่อให้เข้าใจหลักการวางแผน พฤติกรรมผู้บริโภคทางศิลปะ การแข่งขันและการวิจัยทางการตลาด ฯลฯ โดยฝึกทักษะและวิเคราะห์รูปแบบการเขียน ทั้งการเขียนรายงาน การเขียนการนำเสนอโครงการ การเขียนและทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทศ. 366 ศิลปะไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 3 (3 – 0 – 6) VA 366 Thai Arts and Cultural Identities ศึกษาวิธีคิดและกระบวนการสร้างผลงานศิลปกรรมไทยตั้งแต่อดีตในเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ให้เข้าใจถึงปรัชญา ภูมิปัญญา และพัฒนาการของศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการทำ ความเข้าใจประเด็นอัตลักษณ์ไทย ทศ. 367 สัญวิทยา 3 (3 – 0 – 6) VA 367 Semiotics ศึกษาศาสตร์และองค์ประกอบต่างๆ ของวิชาสัญวิทยา โดยเน้นที่ทฤษฎี มุมมอง แนวคิด การปยุกต์เปรียบเทียบ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเท่าทันต่อแนวคิดและปรากฏการณ์ของโลกปัจจุบัน ทศ. 368 สหกิจศึกษา (เฉพาะแผนสหกิจศึกษา) 6 (0 – 35 – 0) VA 368 Cooperative Education พื้นความรู้ : สอบได้ สศ. 301 ศึกษาระบบการทำงานจริงในหน่วยงานหรือสถานประกอบการในฐานะพนักงานของหน่วยงานหรือ สถานประกอบการหรือกับศิลปินอาชีพในฐานะผู้ช่วยศิลปิน เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษามีความพร้อมด้านงานอาชีพ จากการปฏิบัติงานพื้นฐานอย่างมีหลักการและเป็นนักศึกษาจะต้องมีการปฏิบัติงานเต็มเวลาในสถานประกอบการ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษาหรือ 16 สัปดาห์ ซึ่งเป็นงานที่มีคุณภาพหรือเป็นที่เน้นประสบการณ์ทำงาน (WorkIntegratedLearning)ที่ตรงกับสาขาวิชาชีพเกี่ยวข้องมีการประเมินผลการทำงานจากคณาจารย์ร่วมกับ สถานประกอบการและนักศึกษาจะต้องจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ค. หมวดวิชาเลือกเสรี (6 หน่วยกิต) นักศึกษาสามารถเลือกวิชาต่อไปนี้ หรือวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่คณะฯ อนุมัติให้ เป็นวิชาเลือกรวมแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต กม. 102 กฎหมาย ธุรกิจ 3 (3 – 0 – 6) LA 102 Business Law เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาถึงหลักและวิธีปฏิบัติที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนบริษัท และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าโดยทั่วไป การศึกษาประกอบด้วยหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งอำนาจหน้าที่ การดำเนินงานการเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัท และกฎหมายเอกเทศสัญญาที่สำคัญบางเรื่อง เช่น ลักษณะซื้อขายตั๋วเงิน เป็นต้น ศก. 311 การศึกษาทฤษฎีของความรู้ผ่านแนวคิดของงานสถาปัตยกรรมไทย 3 (2 – 2 – 5) FA 311 Epistemology through Thai Architecture ศึกษากระบวนการวิธีการแสวงหาความรู้ และการเกิดของชุดความรู้ ในมิติทางด้านวิทยาศาสตร์ และปรัชญา (Epistemology) โดยศึกษาผ่านบริบทของสังคมไทยที่สะท้อนออกมาในงานสถาปัตยกรรมไทยว่าอ้างอิง อยู่กับปรัชญาและโลกทัศน์แบบใด และดำรงตนอยู่ด้วยปัจจัยใดการเรียนการสอนเน้นการสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยน แนวความคิดและการเขียนเพื่อถ่ายทอดความคิด ศก. 312 ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์เชิง ทดลอง 3 (1 – 4 – 4) FA 312 Experimental Typography ค้นคว้าและทดลองความเป็นไปได้ในการใช้ตัวพิมพ์ทั้งที่เกิดจากการสร้างขึ้นเองใหม่ และตัวพิมพ์ที่พบเห็น ในชีวิตประจำวัน โดยการตั้งสมมติฐานวิเคราะห์ สร้างความสัมพันธ์ เพื่อนำเสนองานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ ศก. 313 การออกแบบหนังสือเชิงทดลอง 3 (1 – 4 – 4) FA 313 Experimental Book Design เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพื่อทำความเข้าใจการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ทั้งในเชิงทฤษฏี ปฏิบัติ หรือทดลองได้ตามบริบท โดยพัฒนาการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ได้ตามความสามารถเฉพาะบุคคล ศก. 332 ศิลปปริทัศน์ 3 (3 – 0 – 6) FA 332 Survey of Art ศึกษาศิลปกรรมสำคัญของไทยจากการนำชมสถานที่จริงและภาพถ่าย เพื่อให้เข้าใจและเห็นคุณค่าในภูมิปัญญา คุณค่าโบราณของไทยและเพื่อเป็นการเสริมความรู้ทั้งทางประวัติศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ ศก. 351 ศิลปกรรมพื้นบ้าน 3 (3 – 0 – 6) FA 351 Folk Arts ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของงานศิลปกรรมพื้นบ้านของไทยในภูมิภาคต่าง ๆ โดยสังเขป รวมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบของศิลปะแขนงต่าง ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อให้เข้าใจ และเห็นคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย สศ. 301 เตรียมสหกิจ ศึกษา 3 (3 – 0 – 6) CO 301 Pre-Cooperative Education ศึกษาแนวคิดและความเข้าใจของระบบสหกิจศึกษา ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมและทักษะด้านต่างๆ อาทิ การเขียนจดหมายสมัครงาน การเลือกสถานประกอบการ เทคนิคการเข้ารับการสัมภาษณ์งาน การพัฒนาทักษะใน ในการสื่อสารบุคลิกภาพ การทำงานเป็นทีมสร้างสรรค์การทำงานด้วยกิจกรรม 5 ส วัฒนธรรมองค์กร เทคนิคการคิด อย่างสร้างสรรค์เทคนิคการเขียนรายงาน และการนำเสนอทักษะการเป็นผู้ประกอบการ คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพข้อควรปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติงาน และความปลอดภัยในสถานประกอบการ อน. 234 ภาพ ประกอบ 3 (1 – 4 – 4) CD 234 Illustration ศึกษาทฤษฎีพื้นฐานในการสร้างภาพประกอบและ ฝึกปฏิบัติการออกแบบภาพประกอบที่ผ่านการตีความ ถ่ายทอดจินตนาการจากเรื่องสู่ภาพให้สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม และฝึกทักษะในการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ศก. 431 การดำเนินธุรกิจการออกแบบ 3 (3 - 0 - 6) FA 431 Design Management ศึกษาถึงการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อคิดต่างๆ ในการก่อตั้ง การดำเนินงาน การควบคุม และวัดประสิทธิภาพของงาน ตลอดจนกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับนักศึกษาที่คิดจะออกไปประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะต่อไป |